Last updated: 11 มี.ค. 2553 | 10350 จำนวนผู้เข้าชม |
เครนติดผนังยื่นแขนยก มีความเหมาะสมใช้สำหรับงานยกวัตถุงานหรือสินค้าตามความยาวตลอดแนวด้านข้างผนังตัวอาคารโรงงาน ซึ่งแตกต่างกับเครนติดผนังยื่นแขนหมุนที่สามารถใช้งานได้เฉพาะบริเวณเสาที่ยึดติดเท่านั้น และมีลักษณะแตกต่างกันเครนสนามขาสูงข้างเดียว ตรงที่เครนสนามขาสูงข้างเดียวมีขาเครนข้างหนึ่งวิ่งบนรางด้านบนติดกับเสาโรงงาน และขาเครนอีกข้างหนึ่งวิ่งอยู่ด้านล่างของพื้นโรงงาน แต่เครนติดผนังยื่นแขนยกนั้น มีชุดขาเครน 3 ขา 6 ล้อ วิ่งอยู่บนราง 2 ชั้น โดยชุดขาเครนทั้งหมดติดตั้งไว้ที่รางวิ่งทั้ง 2 ชั้นติดตั้งกับเสาข้างผนังโรงงาน และชุดคานเครนยื่นตัวออกมาอิสระเพื่อยกวัตถุหรือสินค้า ซึ่งการใช้งานยกสินค้าตลอดแนวด้านข้างของโรงงาน เช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงด้านเดียว แต่มีความสะดวกมากกว่า แต่เครนชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมากนักเพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก หรือยังไม่เข้าใจการใช้งาานกับเครนชนิดนี้ จึงไม่ได้ออกแบบเตรียมโครงสร้างเสาโรงงานที่แข็งแรงไว้รองรับรางวิ่งเครนชนิดนี้ และเมื่อรู้จักหรืออยากได้ก็ไม่สามารถติดตั้งได้ เพราะโครงสร้างโรงงานที่สร้างไว้ก็ไม่เหมาะกันกับเครนชนิดนี้เสียแล้ว เครนติดผนังยื่นแขนยก สามารถออกแบบสร้างได้ทั้งแบบคานเดี่ยวและคานคู่ โดยโรงงานที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะทำเครนวิ่งเป็น 2 ระดับ โดยวางตำแหน่งเครนเหนือศีรษะวิ่งบนรางด้านบน และวางตำแหน่งเครนติดผนังยื่นแขนยกไว้ด้านล่าง แต่ชนิดนี้มีความเหมาะสมใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ควรใช้งานยกน้ำหนักตั้งแต่ 1-5 ตันเท่านั้น ควรมีแขนยื่นออกมาจากรางวิ่งเพื่อยกวัตถุไม่เกิน 6 เมตร และควรมีความเร็วในการวิ่งยาวไม่เกิน 20 เมตร/นาที ที่สำคัญควรใช้อินเวอร์เตอร์ควบคุมการออกและหยุดตัว เพราะการวิ่งแนวยาวที่เร็วเกินไป หรือการออกและหยุดตัวอย่างรุนแรง สำหรับเครนชนิดนี้จะเป็นอันตรายสำหรับโครงสร้างเครนและเกิดความไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานได้ |
11 มี.ค. 2553
11 มี.ค. 2553
11 มี.ค. 2553
11 มี.ค. 2553