Last updated: 11 มี.ค. 2553 | 10181 จำนวนผู้เข้าชม |
เครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานคู่ มีความเหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้งและในร่มภายในตัวอาคารโรงงานมีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงข้างเดียว แบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบเป็นแบบคานคู่ เพราะผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพในการยกวัตถุและสินค้าที่หนักกว่า และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า ดังเช่นที่ก่าวมาแล้วของลักษณะของเครนแบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่ แต่มีข้อแตกต่างในการออกแบบใช้งานบางประการ กับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง คือ เครนสนามขาสูงข้างเดียว ไม่ควรออกแบบให้มีเท้าแขน (Cantilever) ยื่นออกมาด้านนอกเหมาะกันเครนสนามขาสูง 2 ข้าง เพราะเครนสนามขาสูงข้างเดียว เมื่อมีเท้าแขนยื่นออกมาด้านข้างถ้าออกแบบได้ไม่ดีเมื่อรอกไฟฟ้ายกน้ำหนักเคลื่อนออกมาสามารถถ่วงให้ชุดขาเครนวิ่งด้านบนยกกระดกลอยออกจากรางวิ่งและล้มคว่ำด้านข้างลงมาได้ และผู้ออกแบบก็มักไม่นิยมออกแบบตัวล็อกป้องกันการยกกระดกไว้ที่ฝั่งรางวิ่งด้านบนนั้นด้วย โดยถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานโดยตรง สิ่งที่สำคัญสำหรับการออกแบบเครนสนามขาสูงทุกประเภท ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงทำได้ สัดส่วนความสูงต่อความกว้างต้องไม่น้อยกว่า 3 : 5 เพราะการออกแบบชุดคานที่ยาวกว่าความสูงของชุดขาเครน จะช่วยให้เกิดน้ำหนักถ่วงดุลอีกด้านมากขึ้น ทำให้เครนกระดกตัวพลิกล้มได้ยากกว่า และสำหรับองศาความลาดชันจากกึ่งกลางขาเครนรับชุดคานเครนด้วนบนวัดจากเส้นตั้งฉากจากระดับด้านบนขยายกว้างออกมาตามเส้นลาดชันของขาเครนถึงเส้นฝ่านสูนย์กลางของล้อเครนด้านล่าง ก็ไม่ควรน้อยกว่า 10 องศา ซึ่งจะทำชุดเครนสนามขาสูงมีขาหยั่งที่กว้างพอประมาณ ทรงตัวไม่ล้มได้ง่าย และอีกประการที่สำคัญคือ การออกแบบเครนสนามขาสูงทุกประเภทต้องติดคำนึงถึงระดับพื้นที่รางวิ่งทั้ง 2 ฝั่ง ที่ระดับรางอาจมีการทรุดตัวได้ จึงจำเป็นต้องออกแบบขาเครนด้านใดด้านหนึ่งให้มีจุดหมุน (Flexible Leg) เพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นตัวได้ แต่ถ้ามีความมั่นใจแน่นอนสำหรับระดับรางเครนทั้ง 2 ด้านว่าทำฐานรากไว้มั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะไม่มีการทรุดตัวได้ในอนาคต ก็สามารถออกแบบให้เป็นขายึดแน่นทั้ง 2 ด้่าน (Fix Leg) ได้เช่นเดียวกัน |
11 มี.ค. 2553
11 มี.ค. 2553
11 มี.ค. 2553
11 มี.ค. 2553