ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ
ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ฯลฯ ดังนั้น เพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงานและเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ” ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า “วันกรรมกรสากล” หรือ "วันเมย์เดย์" ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน ในเมืองไทยเริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้นใน พ.ศ. 2475 เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475
วันแรงงานแห่งชาติ ปัจุบบันการบริการงาน อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
หน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
1. |
|
การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้คนมีคุณภาพในการทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน |
2. |
|
งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงานเพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพเหมาะตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการเศรษฐกิจ |
3. |
|
การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชน ที่โอกาสศึกษาต่อ |
4. |
|
งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ |
5. |
|
งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง |
ด้านกรรมกร ได้จัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายกลุ่ม และรวมกันตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมี 3 สภา ได้แก่
1. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
2. สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
3. สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
|